วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

บทนำ
สื่อมวลชน
คือกระบวนการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยมีองค์กรหรือสถาบันเป็นผู้ส่งสาร มีระบบสื่อสาร มีอุปกรณ์เครื่องมือที่มากพอจะส่งสารยังผู้รับสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของสื่อมวลชน
การสื่อสารมวลชนเป็นการติดต่อสื่อสารไปยังผู้รับสารที่มีจำนวนมากๆ หรือเป็น มวลชนซึ่งมวลชนอาจรวมกันอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งหรือกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ โดยการเข้าถึงผู้รับ (elements of circulation) มี 3 ประการ คือ
1. ความสะดวกของผู้รับในการใช้สื่อ
2. ความสามารถในการรับสารได้ในทันทีที่ต้องการ
3. ความรวดเร็วในการส่งสารณรงค์
สื่อมวลชนประกอบด้วย
1. สื่อสิ่งพิมพ์ (print materials) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับจดหมายเวียน ใบติดประกาศ ตัวอักษรที่เครื่องบินพ่นเป็นควันบนฟ้า และเครื่องมืออื่น ๆ ซึ่งนำสารไปสู่ มวลชนโดยผ่านทางตา2. สื่ออิเลคโทรนิค (electronic media) ได้แก่ รายการวิทยุ และการบันทึกเสียงต่าง ๆ ซึ่งผ่านทางหู หรือ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการบันทึกวิดีโอ ซึ่งผ่านทั้งทางตาและทางหู
3. สื่อบุคคลสื่อบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มตั้งแต่การกำเนิดมนุษย์ชาติการติดต่อสื่อสารโดยสื่อบุคคลนั้น อาจมีทั้งในรูปของคำพูด และการแสดงออกทางอากัปกิริยา ท่าทาง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารวิธีดังกล่าวเป็นเครื่องมือการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสื่อหนึ่ง
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา
สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
สื่อทุกชนิดมีอิทธิพลต่อสังคม เพราะ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเรียนรู้และการพัฒนาการของมนุษย์ และไม่อาจปฎิเสธได้ว่าสื่อนี้เองสามารถส่งผลกระทบทั้งในเชิงสร้างสรรค์และผลกระทบในเชิงลบให้กับผู้รับสื่อ โดยเฉพาะ กลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว สื่อมีพลังอำนาจอย่างสูงในการปลูกฝังค่านิยมเรื่องเพศ ความรุนแรง และบริโภคนิยม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม และในหลายต่อหลายครั้งที่เราจะพบว่าสื่อได้กลายเป็นต้นเหตุของการโน้มนำสู่การกระทำที่ไม่สมควร เช่น ในกรณีของสื่อลามกอนาจาร สื่อความรุนแรงที่ได้กลายเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ
มีความคิดเห็นอย่างไร กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคม
สื่อเป็นแรงผลักดันที่มีผลกระตุ้นต่อพฤติกรรมและทัศนคติของมนุษย์อันมีผลต่อการดำรงชีวิต ซึ่งอิทธิพลต่าง ๆ นั้น มีทั้งในแง่บวกและลบ เป็นการแสดงบทบาทและการกระทำผ่านสื่อต่าง ๆ ถ่ายทอดมายังประชาชน ซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของมนุษย์โดยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมที่ให้ทั้งคุณและโทษ
มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
การจัดประเภทรายการ เป็นสิ่งที่ดีมาก ไม่เช่นนั้น เด็กก็จะยังได้รับภาพและเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมอยู่ดี อย่างกลับบ้านมาตอนเย็นไม่มีผู้ใหญ่ดูทีวีด้วย แล้วใครจะแนะนำ อย่าว่าแต่เด็ก ผู้ใหญ่กันเองก็ดี ถ้าดูละครตบตี อิจฉาริษยา มากๆ ก็อาจติดมาใช้ในชีวิตจริงได้ ทำลายความสุขส่วนรวมของสังคมอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดช่วยกัน กลายเป็นคิดแย่งกัน
SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีของ SMS คือ สามารถแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่าน SMS ได้ ข้อเสีย หากมีบุคคลส่งประเด็นที่ล่อแหลม ภาษาไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อเยาวชนของชาติเพราะบางครั้งเด็ก ไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี เพราะข้อความแสดงขึ้นหน้าจอ โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องก่อน และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงคือเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์ต่าง ๆ
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาจะเกิดประโยชน์กับการศึกษาหรือการเรียนการสอนอย่างไร
ประโยชน์ของการนำสื่อมวลชนมาใช้ในสถานศึกษา

1. สามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปสู่คนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์
2. เปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกัน เป็นการขยายห้องเรียนให้กว้างออกไป โดยผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียน แต่สามารถเรียนได้ตามลำพังและตลอดเวลา
3. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของระบบโรงเรียน ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร สื่อการเรียนการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องเรียนไม่พอ ขาดผู้สอนที่มีประสบการณ์ สื่อการสอนที่จำเป็นมีจำกัด ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้โดยอาศัยสื่อมวลชนเข้าช่วยปรับปรุงการสอนของครูซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน ให้มีคุณภาพดีใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการ ด้วยการให้คำแนะนำและสาธิตการสอนผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ได้ผลดีมาก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ ถ้าได้มีการวางแผนเตรียมการัดกุมจะสามารถจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้ครอบคลุม ต่อเนื่องและมีคุณภาพคุ้มกับการลงทุน
ประโยชนทางด้านการสอน
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน
2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง
จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาได้โดย

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.ใช้เป็นเพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน
6.ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. ใช้เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ใช้เป็นให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. ใช้เป็นเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. ใช้เป็นเพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
เมื่อมีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ มีแพร่หลายมากในปัจจุบันดังนั้น การใช้สื่อมวลชนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อที่สามารถนำสื่อมวลชนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ให้ความรู้ ความบันเทิงได้โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ประเทศชาติและผู้ใช้บริการ
























ไม่มีความคิดเห็น: