วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ระดมความคิดทางสมอง
" นวัตกรรมการศึกษา "
นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี


"แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ "
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2. คุณลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง
3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

"เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

"คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา"
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ - หน่วยรับข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ - หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น จานบันทึก - หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ
2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือเป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น งานบัญชี งานพิมพ์เอกสาร งานวาดภาพ เป็นต้น 3 ส่วนบุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับบริหาร (Administration)
- ระดับวิชาการ (Technical)
- ระดับปฏิบัติการ (Data Processing)
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practica)
2. โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial)
3. โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation)
4. เกมทางการศึกษา (Educational Games)
5. โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving)
ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี
1. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
2. ไม่จำกัดสถานที่เรียน
3. สามารถเรียนจากสื่อประสม
4. การทราบผลการเรียนทันที
ข้อจำกัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ

1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for EducationAdministration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆเป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ

4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อมวลชนกับการศึกษา

บทนำ
สื่อมวลชน
คือกระบวนการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยมีองค์กรหรือสถาบันเป็นผู้ส่งสาร มีระบบสื่อสาร มีอุปกรณ์เครื่องมือที่มากพอจะส่งสารยังผู้รับสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของสื่อมวลชน
การสื่อสารมวลชนเป็นการติดต่อสื่อสารไปยังผู้รับสารที่มีจำนวนมากๆ หรือเป็น มวลชนซึ่งมวลชนอาจรวมกันอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งหรือกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ โดยการเข้าถึงผู้รับ (elements of circulation) มี 3 ประการ คือ
1. ความสะดวกของผู้รับในการใช้สื่อ
2. ความสามารถในการรับสารได้ในทันทีที่ต้องการ
3. ความรวดเร็วในการส่งสารณรงค์
สื่อมวลชนประกอบด้วย
1. สื่อสิ่งพิมพ์ (print materials) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับจดหมายเวียน ใบติดประกาศ ตัวอักษรที่เครื่องบินพ่นเป็นควันบนฟ้า และเครื่องมืออื่น ๆ ซึ่งนำสารไปสู่ มวลชนโดยผ่านทางตา2. สื่ออิเลคโทรนิค (electronic media) ได้แก่ รายการวิทยุ และการบันทึกเสียงต่าง ๆ ซึ่งผ่านทางหู หรือ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการบันทึกวิดีโอ ซึ่งผ่านทั้งทางตาและทางหู
3. สื่อบุคคลสื่อบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มตั้งแต่การกำเนิดมนุษย์ชาติการติดต่อสื่อสารโดยสื่อบุคคลนั้น อาจมีทั้งในรูปของคำพูด และการแสดงออกทางอากัปกิริยา ท่าทาง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารวิธีดังกล่าวเป็นเครื่องมือการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสื่อหนึ่ง
บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีหน้าที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
หน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต้สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้
1.การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ
2.การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน
3.การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษา
สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร
สื่อทุกชนิดมีอิทธิพลต่อสังคม เพราะ สื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเรียนรู้และการพัฒนาการของมนุษย์ และไม่อาจปฎิเสธได้ว่าสื่อนี้เองสามารถส่งผลกระทบทั้งในเชิงสร้างสรรค์และผลกระทบในเชิงลบให้กับผู้รับสื่อ โดยเฉพาะ กลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว สื่อมีพลังอำนาจอย่างสูงในการปลูกฝังค่านิยมเรื่องเพศ ความรุนแรง และบริโภคนิยม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม และในหลายต่อหลายครั้งที่เราจะพบว่าสื่อได้กลายเป็นต้นเหตุของการโน้มนำสู่การกระทำที่ไม่สมควร เช่น ในกรณีของสื่อลามกอนาจาร สื่อความรุนแรงที่ได้กลายเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ
มีความคิดเห็นอย่างไร กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือนดาบสองคม
สื่อเป็นแรงผลักดันที่มีผลกระตุ้นต่อพฤติกรรมและทัศนคติของมนุษย์อันมีผลต่อการดำรงชีวิต ซึ่งอิทธิพลต่าง ๆ นั้น มีทั้งในแง่บวกและลบ เป็นการแสดงบทบาทและการกระทำผ่านสื่อต่าง ๆ ถ่ายทอดมายังประชาชน ซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของมนุษย์โดยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมที่ให้ทั้งคุณและโทษ
มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร
การจัดประเภทรายการ เป็นสิ่งที่ดีมาก ไม่เช่นนั้น เด็กก็จะยังได้รับภาพและเรื่องราวที่ไม่เหมาะสมอยู่ดี อย่างกลับบ้านมาตอนเย็นไม่มีผู้ใหญ่ดูทีวีด้วย แล้วใครจะแนะนำ อย่าว่าแต่เด็ก ผู้ใหญ่กันเองก็ดี ถ้าดูละครตบตี อิจฉาริษยา มากๆ ก็อาจติดมาใช้ในชีวิตจริงได้ ทำลายความสุขส่วนรวมของสังคมอย่างยิ่ง แทนที่จะคิดช่วยกัน กลายเป็นคิดแย่งกัน
SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร
มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีของ SMS คือ สามารถแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่าน SMS ได้ ข้อเสีย หากมีบุคคลส่งประเด็นที่ล่อแหลม ภาษาไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อเยาวชนของชาติเพราะบางครั้งเด็ก ไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี เพราะข้อความแสดงขึ้นหน้าจอ โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องก่อน และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงคือเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์ต่าง ๆ
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษาจะเกิดประโยชน์กับการศึกษาหรือการเรียนการสอนอย่างไร
ประโยชน์ของการนำสื่อมวลชนมาใช้ในสถานศึกษา

1. สามารถแพร่กระจายความรู้เนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปสู่คนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์
2. เปิดโอกาสให้ประชาชนที่กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางการศึกษาเท่าเทียมกัน เป็นการขยายห้องเรียนให้กว้างออกไป โดยผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียน แต่สามารถเรียนได้ตามลำพังและตลอดเวลา
3. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัสดุการศึกษาของระบบโรงเรียน ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร สื่อการเรียนการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องเรียนไม่พอ ขาดผู้สอนที่มีประสบการณ์ สื่อการสอนที่จำเป็นมีจำกัด ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้โดยอาศัยสื่อมวลชนเข้าช่วยปรับปรุงการสอนของครูซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน ให้มีคุณภาพดีใกล้เคียงกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อในการถ่ายทอดเทคนิควิธีการ ด้วยการให้คำแนะนำและสาธิตการสอนผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะวิทยุโทรทัศน์ได้ผลดีมาก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของรัฐ ถ้าได้มีการวางแผนเตรียมการัดกุมจะสามารถจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้ครอบคลุม ต่อเนื่องและมีคุณภาพคุ้มกับการลงทุน
ประโยชนทางด้านการสอน
1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน
2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง
จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาได้โดย

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง
2.ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ
3.ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้
4.ใช้เป็นเพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
5.ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน
6.ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน
7. ใช้เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้
8. ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด
9. ใช้เป็นให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
10. ใช้เป็นเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
11. ใช้เป็นเพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
เมื่อมีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ มีแพร่หลายมากในปัจจุบันดังนั้น การใช้สื่อมวลชนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อที่สามารถนำสื่อมวลชนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ให้ความรู้ ความบันเทิงได้โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ประเทศชาติและผู้ใช้บริการ